วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิรัติ


วิรัติ คือ เจตนางดเว้นจากการทำผิดศีล มี 3 อย่าง 
สมาทานวิรัติ สำหรับคนทั่วไป เจตนางดเว้นด้วยการสมาทานศีลไว้ล่วงหน้า
สัมปัตตวิรัติ สำหรับภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาเจตนางดเว้นเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่จะทำให้ผิดศีล
สมุจเฉทวิรัติ สำหรับพระพุทธเจ้า เจตนางดเว้นเด็ดขาด ของท่านผู้สิ้นกิเลสแล้ว
บริวารของการฆ่า คือ
1. การฆ่า ทำให้ศีลขาด
2. การทำร้ายร่างกาย ทำให้ศีลด่างพร้อย
3. การทรกรรม ทำให้ศีลด่างพร้อย
หลักวินิจฉัยบาปกรรม (การฆ่า) 3 อย่าง คือ
1. วัตถุ หมายถึง สัตว์ที่ถูกฆ่า
2. เจตนา หมายถึง เจตนาของผู้ฆ่า
3. ประโยค หมายถึง วิธีการฆ่า
การกระทำเป็นโจรกรรม มี 14 อย่าง
1. ลัก ขโมยเอาทรัพย์เมื่อเจ้าของไม่เห็น
2. ฉก ชิงเอาทรัพย์ต่อหน้าเจ้าของ
3. กรรโชก ทำให้เขากลัวแล้วให้ทรัพย์ หรือยกเว้นให้ไม่ต้องเสียทรัพย์
4. ปล้น ร่วมกันหลายคน มีอาวุธเข้าปล้นทรัพย์
5. ตู่ อ้างหลักฐานพยานเท็จหักล้างกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น
6. ฉ้อ โกงเอาทรัพย์ของผู้อื่น
7. หลอก ปั้นเรื่องขึ้นให้เขาเชื่อแล้วให้ทรัพย์
8. ลวง ใช้เล่ห์เอาทรัพย์ด้วยเครื่องมือลวง
9. ปลอม ทำหรือใช้ของปลอม
10. ตระบัด ยืมของคนอื่นมาใช้แล้วยึดเอาเสีย
11. เบียดบัง กินเศษกินเลย
12. สับเปลี่ยน แอบสลับเอาของผู้อื่นซึ่งมีค่ากว่า
13. ลักลอบ หลบหนีภาษีของหลวง
14. ยักยอก ใช้อำนาจหน้าที่อันมีอยู่ ถือเอาทรัพย์โดยไม่สุจริต
สัมปัตตวิรัติ


    สัมปัตตวิรัติ ได้แก่ เจตนางดเว้น ซึ่งเกิดขึ้นในทันทีทันใด ที่ประจวบกับเหตุที่จะทำให้เสีย
  ศีลหมายความว่า เดิมไม่ได้ตั้งใจจะรักษาศีล ไม่ได้สมาทานไว้ แต่เมื่อพบกับเหตุที่ตนจะล่วง
  ศีลได้ จึงคิดงดเว้นขึ้นในขณะนั้น เช่น เห็นสัตว์ที่พอจะฆ่าได้ น่าจะฆ่า แต่คิดเว้นเสีย ไม่ฆ่า

    เจอกระเป๋าเงิน เจ้าของเขาวางไว้ แม้จะขโมย ก็พอขโมยได้ แต่งดเสีย ไม่ขโมย หญิงที่จะ
  ล่วงประเวณีได้ ก็มี ช่องทางและโอกาสก็อำนวยทุกอย่าง แต่ใจคิดงดเว้นการล่วงประเวณีเสีย
  ไม่ล่วง ไปดูการดูงาน ถึงเมืองนอก กลับมาคนเดียว จะเล่าอะไร โกหกให้ใครฟังก็ได้ แต่
  คิดงดเว้นการโกหกเสีย ไม่พูด เหล้าจะกิน ก็มีพร้อม จังหวะก็อำนวย แต่คิดงดเสีย ไม่ดื่ม
  การตั้งใจงดเว้น เมื่อประจวบเข้ากับ เหตุการณ์อย่างนี้ เรียกว่า สัมปัตตวิรัติ ผู้งดเว้นถือว่ามีศีล
  เหมือนกัน

  สมาทานวิรัติ

  สมาทาน แปลว่า รับ
  สมาทานวิรัติ แปลว่า งดเว้นด้วยการสมาทาน
  ข้อนี้ หมายความว่า เราได้ตั้งใจไว้ก่อนว่า จะรักษาศีล ครั้นไปพบเหตุการณ์อันชวนให้ล่วงศีล
  ก็ไม่ล่วง เพราะถือว่า ตนได้สมาทานศีลไว้ จะล่วงก็เสียดายศีล กลัวศีลจะขาด การงดเว้นจาก
  การล่วงศีล ด้วยคำนึงถึงศีลที่ตนได้สมาทานไว้อย่างนี้ เรียกว่า สมาทานวิรัติ สมาทานวิรัติ
  กับ สัมปัตตตวิรัติ มีผลต่างกันอยู่บ้าง คือสัมปัตตวิรัติ ทำให้ศีลเกิดขึ้น เฉพาะชั่วระยะหนึ่ง
  ขณะที่จิตคิดงดเว้นเท่านั้น ก่อนนั้นก็ไม่มีศีล หลังจากนั้นก็ไม่มีศีล จำเพาะมีในเวลาตั้งใจ
  งดเว้นเท่านั้น ส่วน สมาทานวิรัติ คือตั้งใจรักษาศีลอยู่เรื่อยๆ ศีลก็ย่อมมีอยู่ตลอดเวลา จนกว่า
  ตนเองจะล่วงละเมิดศีล ศีลจึงจะขาด คือเป็น อันสิ้นสุดการสมาทาน ต่อเมื่อได้สมาทานศีลอีก
  สมาทานวิรัติจึงจะเกิดอีก และเป็นผู้มีศีลสมุจเฉทวิรัติ

  สมุจเฉทวิรัติ

  สมุจเฉทวิรัติ ที่แปลว่า งดเว้นเด็ดขาด หมายถึง การงดเว้นของท่านผู้สิ้นกิเลส ที่เรียกว่า
  พระอริยเจ้า ท่านนักศึกษาย่อมจะทราบแล้วว่า ศีลห้านั้น คนจะล่วงก็ เพราะจิตมีกิเลส ทำ
  ให้อยากทำผิดทีนี้พระอริยเจ้าท่านละกิเลสได้แล้ว จึงหมด ปัญหาที่จะผิดศีล ไม่ผิดอีกแล้ว
  ไม่ผิดอย่างเด็ดขาด เพราะฉะนั้น ศีลของ ท่านจึงมีอยู่ตลอดกาล ไม่มีเวลาขาด ไม่มีเวลา
  เศร้าหมอง"

10 ยอดสตรีในสมัยพุทธกาล




10 ยอดสตรีในสมัยพุทธกาล 
๑. นางสุชาดา เป็นธิดาของเสนิยกฎมพี ในหมู่บ้านเสนานิคม ตำบลอุรุเวลา เมื่อย่างเข้าสู่วัยสาว นางได้ทำพิธีบวงสรวงต่อเทพยดาที่สิงสถิตอยู่ ณ ต้นไทรใหญ่ใกล้บ้าน โดยตั้งความปรารถนาไว้สองประการ คือ ขอให้นางได้แต่งงานกับชายที่มีบุญ และมีทรัพย์สินเสมอกัน และขอให้นางมีบุตรคนแรกเป็นชาย
       ความปรารถนาของนางสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้ และนางได้ทำพิธีบวงสรวงเทพยดา เมื่อบุตรชายของนางแต่งงานแล้ว โดยนำข้าวมธุปายาสใส่ถาดทองคำ ไปบวงสรวง เทพยดา ณ ต้นไทรที่นางเคยบนบานไว้ ซึ่งนางได้พบพระสิทธัตถะ โพธิสัตว์ประทับนั่งอยู่ที่นั่น มีรัศมีเปล่งปลั่ง น่าเลื่อมใส นางเข้าใจว่าเป็นเทพยดา จึงน้อมถาดทองคำที่ใส่ข้าวมธุปายาสเข้าไปถวาย พระโพธิสัตว์รับถาดทองคำนั้นไว้ เมื่อนางถวายถาดทองคำแล้วก็เลี่ยงออกไป โดยไม่เสียดายถาดทองคำอันมีค่าเลย พระโพธิสัตว์เสวยข้าวมธุปายาสแล้ว ก็ลอยถาดทองคำลงในแม่น้ำเนรัญชรา วันนั้น เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวันแห่งการตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
       ในกาลต่อมา “ยสะ” ซึ่งเป็นบุตรชายของนางสุชาดา ได้พบพระพุทธเจ้าที่ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ได้ฟังธรรมจากพระศาสดาและได้บรรลุเป็นโสดาบันและได้บรรลุอรหัตผล เมื่อได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่บิดาของตน แล้วทูลขออุปสมบทเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา บิดาของท่านได้เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยคนแรก ส่วนมารดา คือนางสุชาดา พร้อมทั้งภรรยาเก่าของท่านยสะ เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์ก็ได้ถึงพระรัตนตรัย เป็นอุบาสิกาคู่แรกในพระพุทธศาสนา
       นางสุชาดาได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลาย ในฝ่ายผู้ถึงพระรัตนตรัยก่อนอุบาสิกาทั้งปวง
              ๒. นางวิสาขา มหาอุบาสิกา เกิดในตระกูลเศรษฐี ในเมืองภัททิยะ แคว้นอังคะ เป็นธิดาของธนญชัย และนางสุมนาเทวี ขณะอายุได้ ๗ ขวบ ได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่เมณฑกเศรษฐี ผู้เป็นปู่ ก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน ต่อมาได้ย้ายครอบครัวไปอยู่เมืองสาวัตถี ตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าปเสนทิโกศล ที่ประสงค์จะมีตระกูลมหาเศรษฐีอยู่ในเมืองของพระองค์
       นางวิสาขาได้มีบทบาทสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้สร้างวัดบุพพารามในนครสาวัตถี เป็นโลหประสาท ๒ ชั้น มีห้องพักสำหรับพระภิกษุ ๕๐๐ รูป นางวิสาขาถวายความอุปถัมภ์แก่พระพุทธเจ้าและพระสาวกมิได้ว่างเว้น และเมื่อเกิดการไต่สวนเกี่ยวกับนางภิกษุณีในความไม่สมควรที่เกิดขึ้น ก็จะมีนางวิสาขาเป็นกรรมการด้วยผู้หนึ่งเสมอมา และนางได้ทำให้ตระกูลของพ่อผัวเป็นสัมมามิฐิ จนนางได้รับการยกย่องจากพ่อผัวให้เป็นมารดาทางธรรม มีชื่อว่า “วิสาขามิคารมาตา” เป็นต้น
       นางวิสาขาได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นเลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่ายผู้เป็นทายิกา (ผู้ถวายทาน)
       
       ๓. นางขุชชุตตรา เป็นสาวพิการหลังค่อม เป็นลูกสาวของหญิงแม่นมในเรือนของโฆสกเศรษฐีในกรุงโกสัมพี ต่อมาโฆสกเศรษฐีได้รับนางสามาวดีไว้ในฐานะธิดาของตนแล้ว ได้มอบหญิง ๕๐๐ คน ซึ่งมีนางขุชชุตตราอยู่ในจำนวนนี้ด้วย เป็นบริวารของนางสามาวดี ต่อมานางสามาวดี ได้รับการอภิเษกเป็นพระมเหสีของพระเจ้าอุเทนแห่งนครโกสัมพี หญิงบริวารเหล่านี้ก็ได้ติดตามไปรับใช้พระนางสามาวดีในพระราชนิเวศน์ด้วย ต่อมานางขุชชุตตราได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วบรรลุโสดาปัตติผล และนางได้แสดงธรรมแก่พระนางสามาวดี และหญิงบริวารทั้งหมด จนได้บรรลุโสดาบันพร้อมกัน นางจึงเป็นทั้งมารดาและอาจารย์ของพระนางสามาวดีและหญิงบริวาร โดยมีหน้าที่ ไปฟังธรรมจากพระบรมศาสดา แล้วมาแสดงแก่คนเหล่านั้น จนนางเป็นผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก
       นางขุชชุตตราได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่ายผู้แสดงธรรม
       
       ๔. พระนางสามาวดี เป็นธิดาของเศรษฐีนามว่า ภัททวคีย์ แห่งเมือง ภัททวคีย์ เดิมชื่อสามา บิดาของนางเป็นสหายกับโฆสกเศรษฐีแห่งนครโกสัมพี ต่อมาเกิดโรคระบาดในเมืองภัททวคีย์ เศรษฐีต้องพา ภรรยาและลูกสาวหนีภัยไปนครโกสัมพี แต่เมื่อเดินทางไปถึงนครโกสัมพี ไม่ทันได้พบกับโฆสกเศรษฐีผู้เป็นสหาย ก็ได้เสียชีวิตพร้อมกับภรรยา ทิ้งให้นางสามาวดี อยู่แต่ลำพัง ต่อมาโฆสกเศรษฐีทราบเรื่องจึงรับนางสามาวดีเป็นลูกบุญธรรม ตั้งไว้ตำแหน่งแห่งธิดา และต่อมาได้อภิเษกกับพระเจ้าอุเทนแห่งนครโกสัมพี
       พระนางสามาวดีได้ฟังธรรมจากนางขุชชุตตราจนบรรลุเป็นพระโสดาบัน ภายหลังพระเจ้าอุเทนเชื่อคำยุยงของพระนางมาคันทิยา ซึ่งไม่พอใจที่พระนางสามาวดี ฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนา พระเจ้าอุเทนจึงให้นางสามาวดีและหญิงบริวารยืนเรียงแถวกันแล้วยิงด้วยธนู แต่พระนางสามาวดีและหญิงบริวารทั้งหมด แผ่เมตตาแก่พระเจ้าอุเทน ธนูที่ยิงไปจึงมิได้ทำอันตราย แต่ได้หวนกลับมาตกลงตรงเบื้องพระพักตร์ พระเจ้าอุเทนรูสึกสำนึกผิดจึงขอโทษพระนางสามาวดี ซึ่งนางไม่ได้โกรธเคืองแต่อย่างใด โดยบอกเพียงว่าให้มีพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งเถิด อย่ายึดถือเอาพระนางเป็นที่พึ่งเลย
       ในเวลาต่อมา พระนางสามาวดีก็ถูกพระนางมาคันทิยา ใช้ให้คนลอบไปเผาปราสาท พระนางสามาวดีและหญิงบริวารถูกไฟคลอกเสียชีวิตทั้งหมด พระเจ้า อุเทนทรงทราบเรื่องจึงสั่งให้ประหารพระนางมาคันทิยาและเหล่าญาติจนหมดสิ้น
       พระนางสามาวดีได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่ายผู้อยู่ด้วยเมตตา
     
       ๕. นางอุตตรานันทมารดา เป็นลูกสาวจของนายปุณณะ ซึ่งเป็นคนรับใช้ในเรือนของสุมนเศรษฐี ในกรุงราชคฤห์ เป็นคนขยันทำงาน ได้ถวายอาหารบิณฑบาตแก่พระสารีบุตร ผู้ออกจากนิโรธสมบัติ เขาจึงได้กลายเป็นเศรษฐีในวันนั้น ต่อมานางอุตตรานันทมารดาได้สมรสกับลูกชายของราชคฤห์เศรษฐี แต่เพราะนางเป็นโสดาบัน ต้องอธิษฐานอุโบสถเดือนละ ๘ วัน จึงว่าจ้างนางสิริมา หญิงงามเมืองมาบำรุงบำเรอสามีแทนตน ส่วนตนและหญิง บริวารก็จัดหาของเคี้ยวของฉัน เพื่อถวายพระพุทธเจ้าและพระสาวก ฝ่ายนางสิริมา และสามีของนางยืนดูอยู่ที่หน้าต่างด้วยความไม่พอใจ จึงใช้น้ำมันร้อนๆ เทราดไปบนศีรษะของนางอุตตรา ซึ่งนางอุตตราเองก็ระวังตัวจึงเข้าฌานอยู่ น้ำมันร้อนๆ จึงไม่ทำอันตรายใดๆ ได้เลย นางสิริมาได้ระลึกถึงความผิดของตน จึงกราบแทบเท้านางอุตตราเพื่อขอโทษ ต่อมานางสิริมาได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า และได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล
       ด้วยเหตุที่นางอุตตราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการเข้าฌาน พระบรมศาสดาจึงยกย่องว่า เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในการเพ่งฌาน หรือผู้เข้าฌาน
     
       
๖. พระนางสุปปวาสา เป็นธิดาของกษัตริย์นครโกสิยะ ทรงเจริญวัยแล้วได้อภิเษกสมรสกับศากยกุมารองค์หนึ่ง จากนั้นพระนางก็ตั้งครรภ์นาน ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน จึงประสูติโอรส นามว่าสีวลี พระนางได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ครั้งแรกได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์จบแล้วก็บรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นพระโสดาบัน ต่อมาพระนางได้ถวายภัตตาหารแก่พระพุทธเจ้า และพระอริยสาวกอย่างสม่ำเสมอ
       พระนางได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่ายผู้ถวายของอันมีรสอันประณีต
       
       ๗. นางสุปปิยา เกิดในตระกูลหนึ่งในกรุงพาราณสี เมื่อเจริญวัยแล้วได้แต่งงานกับชายผู้มีฐานะเสมอกัน นางมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้วบรรลุเป็นพระโสดาบัน วันหนึ่งไปฟังธรรมที่วัด ก่อนกลับบ้านพบพระสงฆ์อาพาธรูปหนึ่ง จึงถามว่าพระคุณเจ้าต้องการสิ่งใด พระรูปนั้นก็ตอบว่า อาตมาต้องการอาหารที่มีเนื้อ
       วันรุ่งขึ้น นางใช้ให้ทาสีไปหาซื้อเนื้อในตลาด แต่ก็หาซื้อไม่ได้ จึงเฉือนเนื้อที่ขาของตน แล้วให้นำไปปรุงเป็นอาหารถวายพระรูปนั้น พระพุทธเจ้าทรงทราบว่า นางสุปปิยาป่วย จึงเสด็จมาพร้อมกับพระสงฆ์เพื่อเยี่ยมไข้นาง เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสถามถึงนาง นางจึงลุกขึ้นจากที่นอน อาการเจ็บปวดก็หายไปเป็นปลิดทิ้ง บาดแผลหายสนิทเป็นปกติทุกประการ นางได้กราบทูลถึงเรื่องราวที่ตนกระทำไปทั้ง หมดให้พระพุทธองค์ได้ทรงทราบ พระองค์จึงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุฉันเนื้อมนุษย์
       พระพุทธองค์ทรงยกย่องนางสุปปิยาว่า เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่ายผู้อุปัฏฐากภิกษุอาพาธ

     
       ๘. นางกาติยานี เกิดในกุกรรฆรนคร มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาตั้งแต่เยาว์วัย มีหญิงสหายคนหนึ่งชื่อนางกาฬี ในราตรีหนึ่งขณะที่พระโกฆิกัณณโสณเถระ กำลังแสดงธรรมโปรดมารดา จนได้บรรลุธรรมโสดาปัตติผลถึงพระอรหัตมรรค โดยนางกาติยานี และนางกาฬีผู้สหายก็ได้ร่วมฟังธรรมอยู่ด้วย
       คืนนั้นโจรประมาณ ๙๐๐ คน ขุดอุโมงค์จากมุมหนึ่งของเมืองไปโผล่ที่บ้านของนางกาติยานี ส่วนหัวหน้าโจรทำทีเข้าไปฟังธรรม เพื่อต้องการทราบว่าคนเหล่านั้นประชุมกันด้วยเรื่องอะไร ได้ยินนางทาสีบอกนางกาติยานีว่า มีโจรเข้าบ้าน มาขโมยของ แต่นางกลับบอกว่าอย่าไปสนใจ โจรอยากได้อะไรก็ให้เขาขนไป เราจะฟังธรรม หัวหน้าโจรได้ยินดังนั้นเกิดอาการเลื่อมใส จึงสั่งให้ลูกน้องคืนสิ่งของที่ขโมยไปคืนแก่นางกาติยานีทั้งหมด และขอให้นางช่วยให้ตนได้บวชในสำนักของ พระโกฆิกัณณโสณเถระด้วย ซึ่งนางก็จัดการให้ตามประสงค์ และทั้งหมดก็ได้บวชจนบรรลุพระอรหัตผล ส่วนนางฟังธรรมแล้วบรรลุพระโสดาบัน
       พระบรมศาสดาทรงยกย่องนางกาติยานีว่า เป็นเลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่ายผู้เลื่อมใสมั่นคง
     
       
๙. นางนกุลมารดาคหปตนี เกิดในตระกูลเศรษฐีในเมืองสุงสุมารคีรี แคว้นภัคคะ เมื่อเจริญวัยได้แต่งงานอยู่ครองเรือนตามฆราวาสวิิสัย เมื่อบิดามารดาเสียชีวิตแล้วก็ครอบครองสมบัติสืบไป ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปสู่นครสุงสุมารคีรี ประทับในเภสกลาวัน นกุลเศรษฐีและภริยาพร้อมชาวเมืองสุงสุมารคีรีเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้เรียกพระพุทธเจ้าว่าเป็นบุตรของตน พระพุทธเจ้าทรงยกเรื่องในอดีตชาติมาตรัสแก่พุทธบริษัทว่า ทั้งสองสามีภริยานี้เคยเป็นบิดามารดาของพระองค์มา ๕๐๐ ชาติ เป็นต้น จึงทำให้ชาวเมืองคลายความสนเท่ห์จนหมดสิ้น
       พระบรมศาสดาทรงยกย่องนางนกุลมารดาคหปตนี ให้เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคยในพระศาสดา
              ๑๐. นางกาฬีกุกรรฆริกา เกิดในเมืองราชคฤห์ มีสามีอยู่ในกรุงกุรรฆรนคร ต่อมานางได้ตั้งครรภ์ และกลับยังเรือนของบิดามารดาใน กรุงราชคฤห์ คืนหนึ่งได้ยินพวกยักษ์ที่ยืนอยู่ในอากาศเหนือปราสาทของตน สรรเสริญคุณพระรัตนตรัยแล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใส ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล โดยยังมิได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดา และนางได้คลอดบุตรโดยสวัสดิภาพ
       พระบรมศาสดาจึงยกย่องนางกาฬีกุกรรฆริกาว่า เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่ายผู้ได้ความเลื่อมใสตามเขา คือ เลื่อมใสโดยฟังตามคนอื่น
       
       สตรีทั้ง ๑๐ คนนี้ นับว่ามีบทบาทสำคัญในพระพุทธศาสนาที่ไม่อาจปฏิเสธได้ เพราะเป็นรากเหง้าแห่งความเจริญของพระพุทธศาสนาสืบๆต่อกันมาจนทุกวันนี้

เบญจศีล  เบญจธรรม
1.      เบญจศึลและเบญจธรรมมีความสำคัญอย่างไร
เบญจศีลและเบญจธรรม เป็นธรรมคู่กัน คนที่มีเบญจธรรมจึงจะเป็นผู้มีเบญจศีล ซึ่งหากคนมีศีลและธรรมดังกล่าวแล้ว จะเว้นจากการทำความชั่ว รู้จักควบคุมตนให้ตั้งอยู่ในความดี ไม่เบียดเบียนตนและคนอื่น และประพฤติชอบทางกาย วาจา และใจ จะทำให้อยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข?
2. เบญจศีล หมายถึง ศีล ข้อ เป็นการรักษาเจตนาที่จะควบคุมกาย และวาจาให้เป็นปกติ คือ ไม่ทำบาป โดยการละเว้น ประการ คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากการลักขโมย ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ละเว้นจากการพูดปด ละเว้นจากการเสพสุรา
เบญจศีล เป็นเครื่องรักษาเจตนาที่จะควบคุมกาย และวาจาให้เป็นปกติ คือ ไม่ทำบาป โดยการละเว้น 5 ประการ คือ
1. 
ปาณาติบาต คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ และการเบียดเบียนสัตว์
2. 
อทินนาทาน คือ ละเว้นจากการลักขโมย ปล้นจี้ ฉกชิง วิ่งราว เป็นต้น
3. 
กาเมสุมิจฉาจาร คือ ละเว้นจากการประพฤติผิด ล่วงละเมิดลูกเมียผู้อื่น
4. 
มุสาวาท คือ ละเว้นจากการพูดปด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ พูดส่อเสียด
5. 
สุราเมระยะ คือ ละเว้นจากการเสพสุรา เพราะเป็นสาเหตุให้ทำผิดศีลข้ออื่น อานิสงส์ของการรักษาศีล
1. 
ทำให้มีความสุขกายสุขใจ ทำให้ไม่เป็นคนหลงลืมสติ
2. 
ทำให้เกิดทรัพย์สมบัติมากขึ้นได้
3. 
ทำให้สามารถใช้สอยทรัพย์นั้นได้เต็มที่ โดยไม่ต้องหวาดระแวงภัย
4. 
ทำให้ไม่ต้องหวาดระแวงว่าจะมีใครมาทวงทรัพย์คืน
5. 
ทำให้เกียรติคุณฟุ้งขจรขจายไป ทำให้ผู้อื่นเกิดความเคารพเชื่อถือ
6. 
ตายแล้วย่อมไปเกิดในสุคติภูมิ
เบญจศีลทั้ง ข้อจะเกิดขึ้นมาได้ก็เพราะบุคคลผู้นั้นมีเบญจธรรมประจำตัว

3. 
เบญจธรรม 
เบญจธรรม เป็นหลักธรรมที่ควรปฏิบัติ มี ประการ ได้แก่
1. 
เมตตากรุณา คือ บุคคลใดที่มีเมตตาย่อมไม่ฆ่า หรือเบียดเบียนสัตว์ ด้วยรู้ดีว่าทุกชีวิตย่อมมี ความรักตัวกลัวตายเช่นเดียวกับเรา ทำให้ไม่ผิดศีลในข้อที่ 1
2. 
สัมมาอาชีพ คือ ประกอบอาชีพที่สุจริต มีรายได้ รู้จักใช้จ่าย และที่สำคัญรู้จักคำว่าพอดี และมีหิริโอตตัปปะ คือ ความละอาย และเกรงกลัวต่อผลของบาป จึงทำให้ไม่ผิดศีลข้อที่ 2
3. 
ความสำรวมอินทรีย์ คือ ระมัดระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ทำให้ ความใคร่ในกามคุณ คือ การติดในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ลดน้อยลง เมื่อความสำรวมเกิดขึ้น จึงทำให้ไม่ผิดศีลข้อที่ 3
4. 
ความซื่อสัตย์ คือ การพูดความจริง เป็นสิ่งที่ทำให้ไม่เกิดการมุสาวาท ทำให้ไม่ผิดศีลข้อที่ 4
5. 
สติ  คือ การรู้สึกตัว ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายกุศล ทำให้ชีวิตไม่ประมาท เพราะรู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว ทำให้ไม่เกลือกกลั้วกับสิ่งที่จะทำให้ชีวิตตกต่ำ เช่น สุราเมื่อคนดื่มกินก็ทำให้มึนเมาและขาดสติ การมีสติจึงทำให้ไม่ผิดศีลข้อที่ 5
 
อาราธนาศีล 5
( ถ้าคนเดียวเปลี่ยนจากคำว่า "มะยัง" เป็น "อะหัง" และ "ยาจามะ" เป็น "ยาจามิ ")
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัติถายะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยันปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตยาถะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัติยาถะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ข้าแต่ ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอสมาทานศีล 5 พร้อมด้วยไตรสรณคมน์ เพื่อประโยชน์แห่งการรักษา เป็นข้อ ๆ
การที่จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์หมดจดเรียบร้อย ต้องประกอบด้วยวิรัติ ๓ อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ 
   สมาทานวิรัติ ได้แก่การเปล่งวาจาขอสมาทานศีลจากพระภิกษุ สาม เณร หรือ จากบุคคลผู้มีศีลโดยการเปล่งวาจาขอสมาทานเป็นข้อ ๆ ไปดังนี้


๑.ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขา บท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และการใช้ให้คนอื่นฆ่าในสิกขาบทนี้ เป็นทั้งสาหัตถิกประโยค เพราะลงมือฆ่าด้วยตนเอง, เป็นทั้งอาณัติก ประโยค เพราะใช้ให้คนอื่นฆ่า
๒.อะทินนาทานา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมา ทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง และใช้ให้คนอื่นลักในสิกขาบทนี้ คำว่า "ทรัพย์" หมายเอาทั้งสวิญญาณกทรัพย์ ทรัพยที่มีวิญญาณครอง เช่น คน สัตว์ และ วิญญาณฏทรัพย์ ทรัพย์ที่ไม่มีวิญญาณครอง ได้แก่ วัตถุสิ่งของต่าง ๆ และหมายความรวมไปถึงสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้และอสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ในสิกขาบทนี้ เป็นทั้งสาหัตถิกประโยค เพราะลักด้วยตนเอง, เป็นทั้งอาณัติกประโยค เพราะใช้ให้คนอื่นลัก
๓.กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมา ทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
ในสิกขาบทนี้ คำว่า
 "การประพฤติผิดในกาม" หมายถึงการร่วมประ เวณีในบุรุษและสตรีที่ไม่ใช่สามี-ภรรยาคู่ครองของตนเอง เช่น มารดาบิดาล่วงละเมิดกับบุตรธิดาของตนเอง หรือพี่ชายพี่สาวล่วงละเมิดกับน้องชายน้องสาวของตนเอง ก็เป็นการผิดประเวณีทั้งสิ้น
สิกขาบทนี้ เป็น สาหัตถิกประโยค เพราะผิดประเวณีด้วยตนเองอย่างเดียว ไม่เป็นอาณัติกประโยค เพราะใช้ให้คนอื่นผิดประเวณี
๔.มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และ พูดเพ้อเจ้อ
ในสิกขาบทนี้ คำว่า "มุสาวาท" หมายความรวมไปถึง วจีทุจริต ๔ ประการ คือ การปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และ พูดเพ้อเจ้อ
 การพูดปด ได้แก่ การพูดเท็จ หรือพูดให้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ซึ่งเรียกว่า มุสาวาท
การพูดคำหยาบ ได้แก่ การด่าว่าคนอื่นให้ได้รับความอับอาย เรีบกว่า ผรุสวาจา
การพูดเพ้อเจ้อ ได้แก่ การพูดให้ไขว้เขว เหลวไหลไร้สาระ ทำให้เสียประโยชน์ของผู้อื่น เรียกว่า สัมผัปปลาปะสิกขาบทนี้ เป็นสาหัตถิกประโยค เพราะพูดด้วยตนเองอย่างเดียว ไม่เป็นอาณัติกประโยค เพราะให้ใช้คนอื่นพูด
๕.สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทในสิกขาบทนี้ คำว่า
 "สุราและเมรัย" หมายถึง สุรา ๕ อย่าง และ เมรัย ๕ อย่าง 

ลักษณะอาการการล่วงละเมิดศีลในแต่ละข้อ

         ศีลสิกขาบทที่  ๑        มีอาการล่วงละเมิด   ๓    ประการ   คือ
                        .     การฆ่าให้ตาย
                        .    การทำร้ายร่างกายให้ได้รับความบาดเจ็บ
                         การทรมาน  คือ ทรมานให้ลำบาก เช่น ไม่ให้อาหาร หรือใช้งานหนักเกินควร  เป็นต้น
         สิกขาบทนี้  บัญญัติขึ้นเพื่อปลูกฝังความเมตตา  กรุณา  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ที่ดีต่อกันในสังคม
          วัตถุที่ใช้ฆ่ามี  ๒  อย่าง คือ   ๑. ศาสตรา  วัตถุที่มีคมเป็นเครื่องฟันแทง เช่น  หอก  ดาบ  เป็นต้น                           ๒อาวุธ  วัตถุไม่มีคม  เช่น ไม้พลอง  ก้อนดิน
          การฆ่ามี ๒  คือ   ฆ่าโดยจงใจ  เรียกว่า สจิตตกะ 
                                         ฆ่าโดยไม่จงใจ  คือ  อจิตตกะ.
          การฆ่านั้นสำเร็จด้วยเหตุ  ๒  ประการ คือ
.   ฆ่าเองด้วยมือของตนเอง    เรียกว่า  สาหัตถิกประโยค
                        ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า  เรียกว่า  อาณัตติกประโยค
           การฆ่าเมื่อกล่าวโดยความเป็นกรรม  มีโทษหนักเป็นชั้น ๆ กัน  แบ่งเป็น ๓  คือ  วัตถุ   เจตนา   ประโยค
          โดยวัตถุ  หมายถึง  สิ่งที่มีตัวตน  แยกเป็น  ๓  ประเภท คือ
ก)               ฆ่ามนุษย์ผู้หาความผิดมิได้  คือ ผู้ไม่ได้ประทุษร้ายตนเองและผู้อื่น  มีโทษมาก  เพราะเว้นจากเหตุจำเป็น ฯ
ข)               ฆ่ามนุษย์ผู้มีอุปการะมาก  เช่น มารดา บิดา  เป็นต้น มีโทษมาก เพราะตัดประโยชน์สุขของผู้อื่น
ค)               ฆ่ามนุษย์ผู้มีคุณความดี  มีโทษมาก เพราะไม่เป็นแต่ผลาญชีวิตเปล่า ยังทำลายล้างคุณที่เป็นตัวอย่างให้ผู้อื่นประพฤติตามเสียด้วย
          โดยเจตนา  หมายถึง  ความคิดอ่าน  ความตั้งใจ  จัดเป็น ๓  คือ
ก)                   ฆ่าโดยไม่มีสาเหตุ  เช่น ผู้นั้นไม่มีโทษผิดถึงตายตามกฏหมายบ้านเมือง หรือไม่ได้จะทำร้ายตน  มีโทษมาก
ข)                   ฆ่าด้วยกำลังกิเลสกล้า เช่น  รับจ้างฆ่าเขา  มีโทษมาก
ค)                  ฆ่าด้วยความพยาบาทอันร้ายกาจ  ล้างผลาญเขาให้ถึงความพินาศ  มีโทษมาก
          โดยประโยค  หมายถึง  อาการสำหรับประกอบ(การกระทำได้แก่     ฆ่าให้ลำบาก   เช่น  ทุบตีให้บอบช้ำกว่าจะตาย  มีโทษมาก  เพราะผู้ถูกฆ่า เสวยทุกขเวทนาแสนสาหัส
            การฆ่านั้น  มิใช่แต่ห้ามฆ่ามนุษย์อื่นเท่านั้น  แม้ฆ่าตัวเองให้ตาย  ก็ห้าม  เพราะเท่ากับเป็นคนสิ้นคิด
           การฆ่าตัวเองให้ตายนั้น  มีชื่อเรียกว่า  อัตตวินิบาตกรรม
 การฆ่าสัตว์เดียรัจฉาน มีโทษหนักเป็นชั้นกัน โดยวัตถุ  เจตนา  ประโยค
โดยวัตถุ  คือ  ฆ่าสัตว์มีเจ้าของ   มีคุณ  สัตว์ใหญ่   ของตนเอง ไม่มีเจ้าของ
โดยเจตนา  คือ ฆ่าโดยหาสาเหตุมิได้   ฆ่าด้วยกำลังกิเลสกล้า    ฆ่าด้วยความพยาบาท
-   โดยประโยค  คือ  ฆ่าให้ลำบาก  หรือ น่าสมเพศ  เช่น  วางยาในหนองน้ำ เบื่อปลา มีโทษมาก
                        ฉายาปาณาติบาต   คือ  การทำร้ายร่างกาย    และ  ทรกรรม
        การทำร้ายร่างกาย  แยกเป็น  ๓  ประเภท คือ  ทำให้พิการ   ทำให้เสียโฉม (เสียความสวยงามแต่ไม่ถึงพิการ)   ทำให้เจ็บลำบาก (ไม่ถึงเสียโฉม แต่เสียความสำราญสุขสบาย)
        ทรกรรม  ได้แก่  ความประพฤติเหี้ยมโหดแก่สัตว์  ไม่มีความกรุณาปรานีสัตว์   คือ
        ใช้การ  ได้แก่  การให้การเกินกำลัง ไม่ปรานีสัตว์  ปล่อยให้อดอยาก  ขณะใช้ก็เฆี่ยนตี
        กักขัง  ได้แก่  กักขังในที่แคบ   จนเปลี่ยนอิริยาบถไม่ได้
        นำไป  ได้แก่  นำสัตว์ไปโดยวิธีทรมาน  เช่น  ลากไป  หรือ ผูกมัดเป็ด  ไก่ หิ้วหามเอาหัวลง  เอาเท้าขึ้น
         เล่นสนุก  เช่น  เอาประทัดผูกหางสุนัข แล้วเอาไฟจุด
         ผจญสัตว์  เช่น  กัดปลา  ชนโค  ตีไก่  เป็นต้น.
                        โลกวัชชะ  คือ ความผิดที่มนุษย์ทำขึ้น  เป็นความผิด  เช่น โจรกรรม เป็นต้น
                        ปัณณัตติวัชชะ  คือ ความผิดที่เป็นโทษทางพระบัญญัติ  คือ คนสามัญทำเข้าไม่เป็นความผิด  ไม่เป็นความเสียหาย  ผิดเฉพาะแก่ภิกษุ .
ศีลสิกขาบทที่ ๒    อทินนาทานา  เวรมณี          เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์
           ศีลข้อนี้บัญญัติขึ้น   เพื่อป้องกันการทำลายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สมบัติของกันและกัน โดยหวังจะให้เลี้ยงชีพในทางที่ชอบ  เว้นจากการเบียดเบียนกันและกัน
           ศีล ข้อนี้หมายถึง  การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้  คือ ถือเอาด้วยอาการเป็นโจร  สิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
          

ในสิกขาบทนี้  ท่านห้าม  ๓  ประการ   คือ
                        โจรกรรม  ประพฤติเป็นโจร
                        ความเลี้ยงชีพอนุโลมโจรกรรม
                        กิริยาเป็นฉายาโจรกรรม
        การกระทำในข้อ ๑  ศีลขาด   ในข้อ ๒  และข้อ ๓  พึงตัดสินด้วยเจตนา  ถ้ามุ่งทำลายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของผู้อื่น  ศีลขาด  ถ้าไม่เจตนา  ศีลด่างพร้อย
                        ()โจรกรรม  คือ การถือเอาสิ่งของที่ไม่มีผู้ให้  ด้วยการกระทำอย่างโจรกรรม คือ  ๑ลัก   ได้แก่  การขโมย  การย่องเบา   การตัดช่อง คือ งัดหรือเจาะ แล้วหยิบของไป
       . ฉก  ได้แก่  การถือเอาของในเวลาเจ้าของเผลอ  เช่น  วิ่งราว  ตีชิง เป็นต้น
       กรรโชก   คือ การแสดงอำนาจ  อันได้แก่ การขู่  การจี้
       . ปล้น  ได้แก่  รวมพวกกันหลายคน  มีศาสตราวุธเก็บเอาของผู้อื่นด้วยอำนาจ
       ตู่  คือ อ้างกรรมสิทธิ์  ยืนยันเอาของผู้อื่นมาเป็นของตน
       ฉ้อ  ได้แก่  กิริยาที่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่น เช่น รับของแล้วโกงเอาเสีย
       หลอก  ได้แก่  กิริยาที่พูดปด  เพื่อถือเอาของของผู้อื่น
        ลวง  ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาของผู้อื่น  ด้วยการให้เข้าใจผิด  เช่น โกงตาชั่ง
        ปลอม  ได้แก่ กิริยาที่ทำของปลอมให้คนอื่นเห็นว่าเป็นของแท้ แล้วแลกเปลี่ยนเอาทรัพย์ไป
        ๑๐. ตระบัด  ได้แก่ กิริยาที่ยืมของคนอื่นไปใช้ แล้วเอาเสีย
        ๑๑เบียดบัง  ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาเศษ  เช่น ท่านให้ไปเก็บค่าเช่า  เก็บได้มากแต่ให้ท่านน้อย  ( การยักเอาไว้เป็นประโยชน์ส่วนตัว เช่น ผู้เก็บภาษีอากรใช้เล่ห์ยักภาษีอากรไว้เอง)
       ๑๒. ลักลอบ  ได้แก่  กิริยาที่ลักลอบเอาของที่ต้องห้ามหลบหนีภาษี เช่น สินค้าเถื่อน 
       ๑๓สับเปลี่ยน  ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาสิ่งของของตน ที่เลวเข้าไปไว้แทน แล้วเอาสิ่งของที่ดีของผู้อื่นไป
        ๑๔. ยักยอก ได้แก่ การยักยอกทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความดูแลของตนไปโดยทุจริต
        ๑๕ยักย้าย   ได้แก่ การย้ายทรัพย์ของตนที่ถูกยึดไปไว้เสียที่อื่น
โจรกรรม  เป็นกรรมมีโทษหนักเป็นชั้นกัน  โดยวัตถุ  เจตนา  ประโยค
      -  โดยวัตถุ   เป็นของมีค่ามาก
      -   โดยเจตนา  ถ้าถือเอาโดยโลภ มีเจตนากล้า  ก็มีโทษมาก
      -  โดยประโยค  ถ้าถือเอาโดยการฆ่า  หรือทำร้ายเจ้าทรัพย์  หรือประทุษร้ายเคหสถาน
                        () อนุโลมโจรกรรม  คือ การแสวงหาทรัพย์พัสดุในทางไม่บริสุทธิ์  มี   ๓  คือ     ๑สมโจร  คือ การอุดหนุนโจรกรรมด้วยการรับซื้อสิ่งของต่าง ๆ
          ปอกลอก  คือ  การคบคนด้วยความไม่ซื่อสัตย์ มุ่งหมายจะเอาทรัพย์สมบัติของเขาฝ่ายเดียว  และละทิ้งเขาเมื่อเขาสิ้นตัวแล้ว
         . รับสินบน  คือ ถือเอาทรัพย์พัสดุที่เขาให้เพื่อให้ช่วยทำธุระให้แก่เขาในทางผิด
                        () ฉายาโจรกรรม   การทำเป็นฉายาโจรกรรม คือ การทำให้ทรัพย์
ผู้อื่นสูญหายและเป็นสินใช้ตกอยู่แก่ตน  มี ๒  ประการ คือ
            คำว่า สูญ  คือ หายไป  หายสิ้นไป  สินใช้  คือ เงินที่ต้องรับผิดชอบจ่ายตามมูลค่าสิ่งของของที่ตนทำให้บุบสลายหรือสูญหายไป
           . ผลาญ  คือ  การทำลายทรัพย์สมบัติของผู้อื่น  ทำอันตรายทรัพย์สมบัติของผู้อื่น เช่น ลอบฆ่าสัตว์  พาหนะ  ของผู้อื่น  หรือ ทุบสิ่งของของผู้อื่น  ทำอันตรายแก่สมบัติสาธารณะ
           . หยิบฉวย  คือ การถือเอาทรัพย์พัสดุของผู้อื่นด้วยความมักง่าย เช่น การถือเอาทรัพย์พัสดุของผู้อื่นด้วยวิสาสะ
ลักษณะการถือวิสาสะที่ไม่เป็นโทษ  มี ๓   คือ
       .   เจ้าของทรัพย์พัสดุนั้น  เป็นผู้คุ้นเคยสนิทสนมกับตน
       เขาได้อนุญาตไว้
        ทรัพย์พัสดุนั้นเป็นสิ่งที่เขาไม่หวง
สิกขาบทนี้ บัญญัติขึ้นเพื่อส่งเสริมการหาเลี้ยงชีพโดยสุจริต ไม่ผิดธรรม มีสัมมาอาชีวะ
          สิกขาบทที่ ๓  มีอาการล่วงละเมิดอย่างเดียว  คือประพฤติผิดในกามในชายหรือหญิงที่ไม่ใช่คู่สามีภรรยาของตน
กาเมสุ มิจฉาจารา   เวรมณี   เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
           ศีลข้อนี้บัญญัติขั้น เพื่อป้องกันความแตกร้าวในหมู่มนุษย์  และทำเขาให้ไว้วางใจซึ่งกันและกัน
           หญิงเป็นวัตถุที่ห้ามของชาย  มี  ๓  จำพวก คือ
           ภรรยาท่าน  คือ หญิงที่แต่งงานกับชาย  หญิงผู้อยู่กินกับชายโดยเปิดเผย  หญิงผู้รับทรัพย์สิ่งของจากชายแล้วยอมอยู่กับเขา  หญิงที่ชายเลี้ยงไว้เป็นภรรยา
           . หญิงผู้อยู่ในพิทักษ์รักษาของท่าน  คือ หญิงมีบิดา มารดา  ญาติ  หรือผู้ใหญ่ผู้ใดก็ตาม ดูแลพิทักษ์รักษาอยู่
           . หญิงที่จารีตห้าม  มี ๓ จำพวก  คือ 
) หญิงผู้อยู่ในพิทักษ์รักษาของตระกูล ๆ มี ๒  คือ 
หญิงผู้เป็นเทือกเถาของตัว ๑ (แม่   ย่า  ยาย  ย่าทวด  ยายทวด)  
หญิงผู้เป็นเหล่ากอของตัว ๑ ( ลูก  หลาน  เหลน)
) หญิงผู้อยู่ใต้พระบัญญัติของพระศาสนา   คือ ภิกษุณี     สิกขมานา  แม่ชีสามเณรี  หรือนักบวชหญิงในศาสนาอื่นๆ เป็นต้น
) หญิงที่กฎหมายบ้านเมืองห้ามและลงโทษแก่ชายผู้เข้าไปสมสู่   คือ แม่-หม้ายงานท่านที่ออกชื่ออยู่ในกฎหมาย
            “หญิงดังที่กล่าวมาทั้งหมดนี้  แม้มีฉันทะคือความพอใจกับชาย   ชายก็เป็นกาเมสุมิจฉาจาร
            ชายเป็นวัตถุที่ห้ามของหญิง มี ๒  จำพวก คือ
              . ชายอื่นนอกจากสามีเป็นวัตถุที่ห้ามของหญิงมีสามีแล้ว  
              . ชายที่จารีตห้ามเป็นวัตถุที่ห้ามของหญิงทั้งปวง  (ดูเทียบหญิงที่จารีตห้าม)
            สิกขาบทนี้  บัญญัติขึ้นเพื่อส่งเสริมกามสังวร  ความสำรวมในกาม รักเดียวใจเดียว  ส่งเสริมความสงบสุข  และความมั่นคงของสถาบันครอบครัว

          สิกขาบทที่ ๔   มุสาวาทา   เวรมณี    เว้นจากการพูดเท็จ
ศีลข้อนี้บัญญัติขึ้นเพื่อให้พูดคำที่เป็นจริง  ปราศจากการพูดเพื่อหลอกหลวงกัน
ศีลข้อนี้มีข้อห้าม  ๓  อย่าง คือ
                        มุสา        ๒อนุโลมมุสา             ๓ปฏิสสวะ
มุสา  คือ เท็จ  โกหก  ไม่จริง  ลักษณะแห่งมุสามี ๗  ประการ คือ
       . ปด  คือ  พูดมุสาจัง ๆ  พูดเท็จจัง ๆ  เช่น เห็น  พูดว่าไม่เห็น  รู้  พูดว่าไม่รู้ เป็นต้น.
       . ทนสาบาน  คือ  การเสี่ยงสัตย์ว่าจะพูดจริง  หรือจะทำตามคำสาบาน แต่ใจไม่ตั้งจริง  เช่น ทนสาบานแล้วเบิกคำเท็จ
       . ทำเล่ห์กระเท่ห์  คือ พูดอวดอ้างความศักดิ์สิทธิ์อันไม่เป็นจริง  เช่น อวดวิชาคงกระพันชาตรี   ว่าฟันไม่เข้ายิงไม่ออก  เพื่อให้คนหลง  เป็นอุบายหาลาภ.
        . มายา หรือมารยา  คือ การแสดงอาการให้เขาเห็นผิดจากที่เป็นจริง  เช่น คนทุศีล ทำท่าทางให้เขาเห็นว่าเป็นคนมีศีล
        ทำเลศ   คือ พูดมุสาเล่นสำนวน  เช่น ยืนอยู่ เห็นคนวิ่งหนีเจ้าหน้าที่มา  รีบเลื่อนไปยืนเสียอีกทีหนึ่ง  เจ้าหน้าที่มาถึงถามว่าเห็นคนวิ่งมาทางนี้บ้างไหม  ตอบว่า ข้าฯ ยืนอยู่ที่นี้ไม่เห็น.
         เสริมความ  คือ พูดมุสาอาศัยมูลเดิม  แต่เสริมให้มากกว่าที่เป็นจริง เช่น อวดสรรพคุณยาเกินกว่าที่เป็นจริง  เพื่อจะขายยา
          . อำความ   คือ พูดมุสาอาศัยเหตุเดิม  แต่ตัดข้อความที่ไม่ประสงค์จะให้รู้ออกเสีย   เพื่อทำความเข้าใจของผู้ฟังให้กลายเป็นอย่างอื่น  เช่น คนผู้ทำผิดหวังจะปกปิดโทษของตัว
อนุโลมมุสา   คือ ถ้อยคำที่เป็นไปตามมุสา   ถ้อยคำที่เป็นพวกมุสา  มี  ๒  คือ
           เสียดแทง  คือ ถ้อยคำที่ทำให้ผู้อื่นเจ็บใจ  ผู้พูดพูดด้วยอ้างวัตถุ (เรื่อง) ที่ไม่เป็นจริง มี ๒ ประการ  คือ พูดยกให้สูงกว่าพื้นเพของเขา  เรียกว่า ประชด ๑     พูดกดให้เลวกว่าพื้นเพของเขาเรียกว่า ด่า
            . สับปลับ  คือพูดด้วยความคะนองวาจา  หรือพูดกลับกลอกเชื่อถือไม่ได้
           พูดส่อเสียด ยุยงให้เขาแตกกัน  ก็จัดเป็นอนุโลมมุสาด้วย.
ปฏิสสวะ   คือ การรับคำท่านด้วยความบริสุทธิ์ใจ คิดทำตามรับไว้  แต่ภายหลังหาทำตามรับไม่  มี  ๓  ประการ  คือ
         ผิดสัญญา   คือ สองฝ่ายทำสัญญาแก่กันว่าจะทำเช่นนั้น ๆ  ภายหลังฝ่ายหนึ่งได้ช่องแล้วกลับบิดพริ้ว  ไม่ทำตามที่สัญญาไว้นั้น
          . เสียสัตย์   คือ การให้สัตย์แก่ท่านฝ่ายเดียวว่า  ตนจะทำหรือไม่ทำเช่นนั้น ๆ  ภายหลังบิดพริ้ว  ไม่ทำตามนั้น
          . คืนคำ  คือ รับท่านว่าจะทำสิ่งนั้น ๆ  ภายหลังหาทำไม่
          ปฏิสสวะ  มีโทษในฐานะไม่ตั้งอยู่ในสัตย์เป็นเหตุเสียชื่อเสียง  ผู้รักสัตย์ไม่ควรประพฤติ
ยถาสัญญา  คือ พูดตามความสำคัญ  พูดตามความเข้าใจ  พูดด้วยความบริสุทธิ์  มี ๔  ประการ  คือ โวหาร ๑   นิยาย  ๑  สำคัญผิด ๑  พลั้ง ๑
        โวหาร  คือ คำที่ใช้เป็นธรรมเนียม  เช่น ขอบใจ ขอบใจท่านมาก
         นิยาย  คือ นิทานที่เล่าเปรียบเทียบ  เพื่อให้ได้ใจความเป็นสุภาษิต
         สำคัญผิด  คือ ผู้พูดสำคัญผิดและพูดไปตามความสำคัญนั้น  เช่น วันนี้วันอาทิตย์ มีผู้ถามว่าเป็นวันอะไร  สำคัญว่าเป็นวันจันทร์   ก็ตอบเขาว่า วันจันทร์ 
ไม่มีโทษแก่ผู้พูด แต่เมื่อรู้ว่าบอกผิด  ควรบอกเขาใหม่ให้ถูกต้องเสีย.
        พลั้ง  คือ  ผู้พูดตั้งใจจะพูดอย่างหนึ่ง  แต่ปากพลั้งไปพูดอีกอย่างหนึ่ง
          สิกขาบทนี้  บัญญัติขึ้นเพื่อปลูกฝังความซื่อสัตย์  ซื่อตรง (สัจจะ)
         สุราเมระยะมัชชะปมาทัฏฐานา  เวระมะณี      เว้นจากการดื่มสุรา  เมรัย  และของเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
          ศีลข้อ  ๕  นี้  บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ละเมิดข้อห้ามข้างต้นทั้ง  ๔  ข้อ   เพราะเหตุเสียสติอารมณ์  หรือเพื่อป้องกันความวิปลาสของสติปัญญา  มุ่งให้เกิดความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
         ศีลข้อนี้ มีข้อห้าม  ๒  ประการ คือ   ๑.    น้ำเมา คือสุราและเมรัย
                                                                      เสพฝิ่นกัญชาและของมึนเมาอื่น ๆ อีก
         สุรา  คือ น้ำเมาที่กลั่นแล้ว 
         เมรัย  คือ น้ำเมาที่เกิดจากการหมักหรือแช่  ซึ่งใช้ข้าวสุกหรือผลไม้คลุกกับลูกแป้งที่ผสมสมุนไพร  หรือ น้ำตาลสดใส่เชื้อหมัก   เมื่อครบกำหนดแล้วจะเป็นน้ำเมาไม่ต้องกลั่น    พูดง่าย ๆ คือ น้ำเมาที่ยังไม่ได้กลั่น
        ของเมาอื่น ๆ   คือ ของที่เสพเข้าไปแล้ว  ทำผู้เสพสติฟั่นเฟือน  ขาดความยั้งคิด  ขาดความรู้สึกผิดชอบชั่วดี  ของเมานั้น จะเป็นน้ำ  เป็นผง  เป็นหลอด  เป็นเม็ดก็ตาม  ห้ามด้วยสิกขาบทนี้
            สิกขาบทนี้ บัญญัติขึ้นเพื่อให้เกิดความไม่ประมาท

องค์แห่งศีล

         ศีลแต่ละข้อมีองค์เฉพาะ  สำหรับเป็นเครื่องชี้ขาดว่า  ประพฤติเช่นไรศีลจึงขาด  เช่นไรจึงไม่ขาด  ซึ่งมีดังต่อไปนี้
                        สิกขาบทที่ ๑  ปาณาติบาต  มีองค์  ๕  ประการ คือ
สัตว์มีชีวิต                     ๒รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
มีจิตคิดจะฆ่า               ๔มีความพยายาม
สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
                        สิกขาบทที่  ๒    อทินนาทาน  มีองค์ประกอบ  ๕  ประการคือ
วัตถุมีเจ้าของหวงแหน                      รู้ว่ามีเจ้าของหวงแหน
มีจิตคิดจะลัก                                      มีความพยายามลัก
ได้มาด้วยความพยายามนั้น
                        สิกขาบทที่  ๓  กาเมสุมิจฉาจาร  มีองค์  ๔  ประการ คือ
วัตถุไม่ควรประพฤติล่วง  (ชายและหญิงที่ต้องห้าม)
มีจิตคิดจะเสพ
ความพยายามที่จะเสพ
ทำอวัยวะสืบพันธุ์ให้ถึงกัน
                        สิกขาบทที่ ๔  มุสาวาท  มีองค์  ๔  ประการ  คือ
เรื่องไม่เป็นจริง                           ๒มีเจตนาจะพูดให้คลาดเคลื่อนจากความจริง
พยายามพูดออกไป                     ๔ผู้อื่นเชื่อตามนั้น
                        สิกขาบทที่ ๕  สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน  มีองค์ ๔ ประการ คือ
.  สิ่งนั้นเป็นของมึนเมา                       มีจิตใคร่จะดื่ม
มีความพยายามดื่ม                             ดื่มล่วงลำคอเข้าไป

วิรัติ  คือ ความละเว้น หรือ  เจตนาเป็นเครื่องงดเว้น   ๓  ประการ คือ

         สัมปัตตวิรัติ  การงดเว้นไม่ล่วงละเมิดเฉพาะหน้า  เช่น พบของที่จะลักขโมยได้  แต่ไม่ทำ เพราะความละอายแก่ใจ
         สมาทานวิรัติ  การงดเว้นด้วยการถือเป็นกิจวัตร  ด้วยการสมาทาน  เช่น สมาทานรักษาศีล  ๕  ข้อ ให้บริบูรณ์
         สมุจเฉทวิรัติ  การงดเว้นโดยเด็ดขาด  ไม่ล่วงละเมิดเด็ดขาดแน่นอน เป็นวิรัติของพระอริยบุคคล

 

เบญจกัลยาณธรรม  ๕
 เบญจธรรม  คือ คุณธรรม  ๕  ประการ  ที่ควรประพฤติควบคู่ไปกับการรักษาศีล  ๕  ข้อ  เพื่อส่งเสริมการรักษาศีลให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น  ดังนี้
         เมตตา  กรุณา  ความรักใคร่ปรารถนาดีต่อกัน  และความสงสารเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่น  ไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น  ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์มีชีวิตเหล่าอื่นก็ตาม  ต่างก็รักสุขเกลียดทุกข์  และหวงแหนชีวิตของตนทั้งนั้น  เมื่อรู้เช่นนี้ก็ไม่พึงเบียดเบียนชีวิตของผู้อื่น  ธรรมข้อนี้ใช้ควบคู่กับศีลข้อที่ ๑  คือ ปาณาติบาต
         สัมมาอาชีวะ  การหาเลี้ยงชีพด้วยการประกอบการงานอาชีพที่สุจริต  ชอบด้วยกฏหมายบ้านเมือง  ปราศจากโทษ     มี ๓  ประการ คือ  ๑) ความประพฤติเป็นธรรมในกิจการ   ๒)  ความประพฤติเป็นธรรมในบุคคล ๓)  ความประพฤติเป็นธรรมในวัตถุ   สัมมาอาชีวะเป็นธรรมคู่กับศีลข้อที่ ๒  อทินนาทาน
         กามสังวร  การยินดี สันโดษเฉพาะแต่คู่สามี ภรรยาของตน  ไม่มั่วสุมในเรื่องกามารมณ์ อันจะเป็นการล่วงสิทธิของคนอื่นก่อให้เกิดความเดือดร้อน  ธรรมดาคู่ใครใครก็รัก  ลูกใครใครก็หวง  จึงไม่ควรที่จะเข้าไปแทรกแซง  ทำลายความมั่นคงในครอบครัวของผู้อื่น  กามสังวรเป็นคุณธรรมคู่กับศีลข้อ ๓  คือ กาเมสุมิจฉาจาร
         สัจจะ  ความซื่อสัตย์  จริงใจไม่คดโกง  ปากกับใจตรงกัน ถือความจริงเป็นใหญ่  ไม่พูดเท็จเพราะเห็นแก่อามิสสินจ้าง  รวมไปถึงการพูดจาอ่อนหวาน  ไพเราะหู  พูดคำที่มีประโยชน์  ไม่พูดส่อเสียดให้เขาแตกแยกกัน มีลักษณะ ๔ ประการ คือ  ๑) ความเที่ยงธรรม       ๒)  ความซื่อตรง     ๓)  ความสวามิภักดิ์           ๔)  ความกตัญญู           สัจจะเป็นคุณธรรมคู่กับศีลข้อ  ๔  คือ มุสาวาท
         .  สติสัมปชัญญะ  ความระลึกได้ในความดี  ความชั่ว และความรู้ทุกขณะที่กำลังทำ  พูด  คิด  การดื่มหรือเสพของมึนเมาเป็นเหตุให้ขาดสติ  ไม่รู้ถึงความผิด  ความชั่ว  ความดี  ความชอบ  เพราะไม่อาจจะควบคุมตัวเองได้  ฉะนั้น ท่านจึงให้ใช้ธรรมข้อนี้คู่กับศีลข้อ ๕  เพราะผู้ถือศีลข้อ ๕ ย่อมมีสติสมบูรณ์  และผู้มีสติย่อมยับยั้งตนเองไม่ให้ดื่มหรือเสพของมึนเมาได้
          สติสัมปชัญญะ  คือ  ความมีสติรอบคอบ  ได้แก่ความไม่ประมาทเลินเล่อ  ๔  อย่าง  คือ        ๑)     ความรู้จักประมาณในการอาหารที่บริโภค   ๒) ความไม่เลินเล่อในการงาน    ๓)  ความมีสติสัมปชัญญะในการประพฤติตัว    ๔)ความไม่ประมาทในธรรม 




วิรัติ คือ เจตนางดเว้นจากการทำผิดศีล มี 3 อย่าง 
สมาทานวิรัติ สำหรับคนทั่วไป เจตนางดเว้นด้วยการสมาทานศีลไว้ล่วงหน้า
สัมปัตตวิรัติ สำหรับภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาเจตนางดเว้นเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่จะทำให้ผิดศีล
สมุจเฉทวิรัติ สำหรับพระพุทธเจ้า เจตนางดเว้นเด็ดขาด ของท่านผู้สิ้นกิเลสแล้ว
บริวารของการฆ่า คือ
1. การฆ่า ทำให้ศีลขาด
2. การทำร้ายร่างกาย ทำให้ศีลด่างพร้อย
3. การทรกรรม ทำให้ศีลด่างพร้อย
หลักวินิจฉัยบาปกรรม (การฆ่า) 3 อย่าง คือ
1. วัตถุ หมายถึง สัตว์ที่ถูกฆ่า
2. เจตนา หมายถึง เจตนาของผู้ฆ่า
3. ประโยค หมายถึง วิธีการฆ่า
การกระทำเป็นโจรกรรม มี 14 อย่าง
1. ลัก ขโมยเอาทรัพย์เมื่อเจ้าของไม่เห็น
2. ฉก ชิงเอาทรัพย์ต่อหน้าเจ้าของ
3. กรรโชก ทำให้เขากลัวแล้วให้ทรัพย์ หรือยกเว้นให้ไม่ต้องเสียทรัพย์
4. ปล้น ร่วมกันหลายคน มีอาวุธเข้าปล้นทรัพย์
5. ตู่ อ้างหลักฐานพยานเท็จหักล้างกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น
6. ฉ้อ โกงเอาทรัพย์ของผู้อื่น
7. หลอก ปั้นเรื่องขึ้นให้เขาเชื่อแล้วให้ทรัพย์
8. ลวง ใช้เล่ห์เอาทรัพย์ด้วยเครื่องมือลวง
9. ปลอม ทำหรือใช้ของปลอม
10. ตระบัด ยืมของคนอื่นมาใช้แล้วยึดเอาเสีย
11. เบียดบัง กินเศษกินเลย
12. สับเปลี่ยน แอบสลับเอาของผู้อื่นซึ่งมีค่ากว่า
13. ลักลอบ หลบหนีภาษีของหลวง
14. ยักยอก ใช้อำนาจหน้าที่อันมีอยู่ ถือเอาทรัพย์โดยไม่สุจริต
สัมปัตตวิรัติ


    สัมปัตตวิรัติ ได้แก่ เจตนางดเว้น ซึ่งเกิดขึ้นในทันทีทันใด ที่ประจวบกับเหตุที่จะทำให้เสีย
  ศีลหมายความว่า เดิมไม่ได้ตั้งใจจะรักษาศีล ไม่ได้สมาทานไว้ แต่เมื่อพบกับเหตุที่ตนจะล่วง
  ศีลได้ จึงคิดงดเว้นขึ้นในขณะนั้น เช่น เห็นสัตว์ที่พอจะฆ่าได้ น่าจะฆ่า แต่คิดเว้นเสีย ไม่ฆ่า

    เจอกระเป๋าเงิน เจ้าของเขาวางไว้ แม้จะขโมย ก็พอขโมยได้ แต่งดเสีย ไม่ขโมย หญิงที่จะ
  ล่วงประเวณีได้ ก็มี ช่องทางและโอกาสก็อำนวยทุกอย่าง แต่ใจคิดงดเว้นการล่วงประเวณีเสีย
  ไม่ล่วง ไปดูการดูงาน ถึงเมืองนอก กลับมาคนเดียว จะเล่าอะไร โกหกให้ใครฟังก็ได้ แต่
  คิดงดเว้นการโกหกเสีย ไม่พูด เหล้าจะกิน ก็มีพร้อม จังหวะก็อำนวย แต่คิดงดเสีย ไม่ดื่ม
  การตั้งใจงดเว้น เมื่อประจวบเข้ากับ เหตุการณ์อย่างนี้ เรียกว่า สัมปัตตวิรัติ ผู้งดเว้นถือว่ามีศีล
  เหมือนกัน

  สมาทานวิรัติ

  สมาทาน แปลว่า รับ
  สมาทานวิรัติ แปลว่า งดเว้นด้วยการสมาทาน
  ข้อนี้ หมายความว่า เราได้ตั้งใจไว้ก่อนว่า จะรักษาศีล ครั้นไปพบเหตุการณ์อันชวนให้ล่วงศีล
  ก็ไม่ล่วง เพราะถือว่า ตนได้สมาทานศีลไว้ จะล่วงก็เสียดายศีล กลัวศีลจะขาด การงดเว้นจาก
  การล่วงศีล ด้วยคำนึงถึงศีลที่ตนได้สมาทานไว้อย่างนี้ เรียกว่า สมาทานวิรัติ สมาทานวิรัติ
  กับ สัมปัตตตวิรัติ มีผลต่างกันอยู่บ้าง คือสัมปัตตวิรัติ ทำให้ศีลเกิดขึ้น เฉพาะชั่วระยะหนึ่ง
  ขณะที่จิตคิดงดเว้นเท่านั้น ก่อนนั้นก็ไม่มีศีล หลังจากนั้นก็ไม่มีศีล จำเพาะมีในเวลาตั้งใจ
  งดเว้นเท่านั้น ส่วน สมาทานวิรัติ คือตั้งใจรักษาศีลอยู่เรื่อยๆ ศีลก็ย่อมมีอยู่ตลอดเวลา จนกว่า
  ตนเองจะล่วงละเมิดศีล ศีลจึงจะขาด คือเป็น อันสิ้นสุดการสมาทาน ต่อเมื่อได้สมาทานศีลอีก
  สมาทานวิรัติจึงจะเกิดอีก และเป็นผู้มีศีลสมุจเฉทวิรัติ

  สมุจเฉทวิรัติ

  สมุจเฉทวิรัติ ที่แปลว่า งดเว้นเด็ดขาด หมายถึง การงดเว้นของท่านผู้สิ้นกิเลส ที่เรียกว่า
  พระอริยเจ้า ท่านนักศึกษาย่อมจะทราบแล้วว่า ศีลห้านั้น คนจะล่วงก็ เพราะจิตมีกิเลส ทำ
  ให้อยากทำผิดทีนี้พระอริยเจ้าท่านละกิเลสได้แล้ว จึงหมด ปัญหาที่จะผิดศีล ไม่ผิดอีกแล้ว
  ไม่ผิดอย่างเด็ดขาด เพราะฉะนั้น ศีลของ ท่านจึงมีอยู่ตลอดกาล ไม่มีเวลาขาด ไม่มีเวลา
  เศร้าหมอง"


10 ยอดสตรีในสมัยพุทธกาล 
๑. นางสุชาดา เป็นธิดาของเสนิยกฎมพี ในหมู่บ้านเสนานิคม ตำบลอุรุเวลา เมื่อย่างเข้าสู่วัยสาว นางได้ทำพิธีบวงสรวงต่อเทพยดาที่สิงสถิตอยู่ ณ ต้นไทรใหญ่ใกล้บ้าน โดยตั้งความปรารถนาไว้สองประการ คือ ขอให้นางได้แต่งงานกับชายที่มีบุญ และมีทรัพย์สินเสมอกัน และขอให้นางมีบุตรคนแรกเป็นชาย
       ความปรารถนาของนางสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้ และนางได้ทำพิธีบวงสรวงเทพยดา เมื่อบุตรชายของนางแต่งงานแล้ว โดยนำข้าวมธุปายาสใส่ถาดทองคำ ไปบวงสรวง เทพยดา ณ ต้นไทรที่นางเคยบนบานไว้ ซึ่งนางได้พบพระสิทธัตถะ โพธิสัตว์ประทับนั่งอยู่ที่นั่น มีรัศมีเปล่งปลั่ง น่าเลื่อมใส นางเข้าใจว่าเป็นเทพยดา จึงน้อมถาดทองคำที่ใส่ข้าวมธุปายาสเข้าไปถวาย พระโพธิสัตว์รับถาดทองคำนั้นไว้ เมื่อนางถวายถาดทองคำแล้วก็เลี่ยงออกไป โดยไม่เสียดายถาดทองคำอันมีค่าเลย พระโพธิสัตว์เสวยข้าวมธุปายาสแล้ว ก็ลอยถาดทองคำลงในแม่น้ำเนรัญชรา วันนั้น เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวันแห่งการตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
       ในกาลต่อมา “ยสะ” ซึ่งเป็นบุตรชายของนางสุชาดา ได้พบพระพุทธเจ้าที่ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ได้ฟังธรรมจากพระศาสดาและได้บรรลุเป็นโสดาบันและได้บรรลุอรหัตผล เมื่อได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่บิดาของตน แล้วทูลขออุปสมบทเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา บิดาของท่านได้เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยคนแรก ส่วนมารดา คือนางสุชาดา พร้อมทั้งภรรยาเก่าของท่านยสะ เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์ก็ได้ถึงพระรัตนตรัย เป็นอุบาสิกาคู่แรกในพระพุทธศาสนา
       นางสุชาดาได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลาย ในฝ่ายผู้ถึงพระรัตนตรัยก่อนอุบาสิกาทั้งปวง
              ๒. นางวิสาขา มหาอุบาสิกา เกิดในตระกูลเศรษฐี ในเมืองภัททิยะ แคว้นอังคะ เป็นธิดาของธนญชัย และนางสุมนาเทวี ขณะอายุได้ ๗ ขวบ ได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่เมณฑกเศรษฐี ผู้เป็นปู่ ก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน ต่อมาได้ย้ายครอบครัวไปอยู่เมืองสาวัตถี ตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าปเสนทิโกศล ที่ประสงค์จะมีตระกูลมหาเศรษฐีอยู่ในเมืองของพระองค์
       นางวิสาขาได้มีบทบาทสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้สร้างวัดบุพพารามในนครสาวัตถี เป็นโลหประสาท ๒ ชั้น มีห้องพักสำหรับพระภิกษุ ๕๐๐ รูป นางวิสาขาถวายความอุปถัมภ์แก่พระพุทธเจ้าและพระสาวกมิได้ว่างเว้น และเมื่อเกิดการไต่สวนเกี่ยวกับนางภิกษุณีในความไม่สมควรที่เกิดขึ้น ก็จะมีนางวิสาขาเป็นกรรมการด้วยผู้หนึ่งเสมอมา และนางได้ทำให้ตระกูลของพ่อผัวเป็นสัมมามิฐิ จนนางได้รับการยกย่องจากพ่อผัวให้เป็นมารดาทางธรรม มีชื่อว่า “วิสาขามิคารมาตา” เป็นต้น
       นางวิสาขาได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นเลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่ายผู้เป็นทายิกา (ผู้ถวายทาน)
       
       ๓. นางขุชชุตตรา เป็นสาวพิการหลังค่อม เป็นลูกสาวของหญิงแม่นมในเรือนของโฆสกเศรษฐีในกรุงโกสัมพี ต่อมาโฆสกเศรษฐีได้รับนางสามาวดีไว้ในฐานะธิดาของตนแล้ว ได้มอบหญิง ๕๐๐ คน ซึ่งมีนางขุชชุตตราอยู่ในจำนวนนี้ด้วย เป็นบริวารของนางสามาวดี ต่อมานางสามาวดี ได้รับการอภิเษกเป็นพระมเหสีของพระเจ้าอุเทนแห่งนครโกสัมพี หญิงบริวารเหล่านี้ก็ได้ติดตามไปรับใช้พระนางสามาวดีในพระราชนิเวศน์ด้วย ต่อมานางขุชชุตตราได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วบรรลุโสดาปัตติผล และนางได้แสดงธรรมแก่พระนางสามาวดี และหญิงบริวารทั้งหมด จนได้บรรลุโสดาบันพร้อมกัน นางจึงเป็นทั้งมารดาและอาจารย์ของพระนางสามาวดีและหญิงบริวาร โดยมีหน้าที่ ไปฟังธรรมจากพระบรมศาสดา แล้วมาแสดงแก่คนเหล่านั้น จนนางเป็นผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก
       นางขุชชุตตราได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่ายผู้แสดงธรรม
       
       ๔. พระนางสามาวดี เป็นธิดาของเศรษฐีนามว่า ภัททวคีย์ แห่งเมือง ภัททวคีย์ เดิมชื่อสามา บิดาของนางเป็นสหายกับโฆสกเศรษฐีแห่งนครโกสัมพี ต่อมาเกิดโรคระบาดในเมืองภัททวคีย์ เศรษฐีต้องพา ภรรยาและลูกสาวหนีภัยไปนครโกสัมพี แต่เมื่อเดินทางไปถึงนครโกสัมพี ไม่ทันได้พบกับโฆสกเศรษฐีผู้เป็นสหาย ก็ได้เสียชีวิตพร้อมกับภรรยา ทิ้งให้นางสามาวดี อยู่แต่ลำพัง ต่อมาโฆสกเศรษฐีทราบเรื่องจึงรับนางสามาวดีเป็นลูกบุญธรรม ตั้งไว้ตำแหน่งแห่งธิดา และต่อมาได้อภิเษกกับพระเจ้าอุเทนแห่งนครโกสัมพี
       พระนางสามาวดีได้ฟังธรรมจากนางขุชชุตตราจนบรรลุเป็นพระโสดาบัน ภายหลังพระเจ้าอุเทนเชื่อคำยุยงของพระนางมาคันทิยา ซึ่งไม่พอใจที่พระนางสามาวดี ฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนา พระเจ้าอุเทนจึงให้นางสามาวดีและหญิงบริวารยืนเรียงแถวกันแล้วยิงด้วยธนู แต่พระนางสามาวดีและหญิงบริวารทั้งหมด แผ่เมตตาแก่พระเจ้าอุเทน ธนูที่ยิงไปจึงมิได้ทำอันตราย แต่ได้หวนกลับมาตกลงตรงเบื้องพระพักตร์ พระเจ้าอุเทนรูสึกสำนึกผิดจึงขอโทษพระนางสามาวดี ซึ่งนางไม่ได้โกรธเคืองแต่อย่างใด โดยบอกเพียงว่าให้มีพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งเถิด อย่ายึดถือเอาพระนางเป็นที่พึ่งเลย
       ในเวลาต่อมา พระนางสามาวดีก็ถูกพระนางมาคันทิยา ใช้ให้คนลอบไปเผาปราสาท พระนางสามาวดีและหญิงบริวารถูกไฟคลอกเสียชีวิตทั้งหมด พระเจ้า อุเทนทรงทราบเรื่องจึงสั่งให้ประหารพระนางมาคันทิยาและเหล่าญาติจนหมดสิ้น
       พระนางสามาวดีได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่ายผู้อยู่ด้วยเมตตา
   
       ๕. นางอุตตรานันทมารดา เป็นลูกสาวจของนายปุณณะ ซึ่งเป็นคนรับใช้ในเรือนของสุมนเศรษฐี ในกรุงราชคฤห์ เป็นคนขยันทำงาน ได้ถวายอาหารบิณฑบาตแก่พระสารีบุตร ผู้ออกจากนิโรธสมบัติ เขาจึงได้กลายเป็นเศรษฐีในวันนั้น ต่อมานางอุตตรานันทมารดาได้สมรสกับลูกชายของราชคฤห์เศรษฐี แต่เพราะนางเป็นโสดาบัน ต้องอธิษฐานอุโบสถเดือนละ ๘ วัน จึงว่าจ้างนางสิริมา หญิงงามเมืองมาบำรุงบำเรอสามีแทนตน ส่วนตนและหญิง บริวารก็จัดหาของเคี้ยวของฉัน เพื่อถวายพระพุทธเจ้าและพระสาวก ฝ่ายนางสิริมา และสามีของนางยืนดูอยู่ที่หน้าต่างด้วยความไม่พอใจ จึงใช้น้ำมันร้อนๆ เทราดไปบนศีรษะของนางอุตตรา ซึ่งนางอุตตราเองก็ระวังตัวจึงเข้าฌานอยู่ น้ำมันร้อนๆ จึงไม่ทำอันตรายใดๆ ได้เลย นางสิริมาได้ระลึกถึงความผิดของตน จึงกราบแทบเท้านางอุตตราเพื่อขอโทษ ต่อมานางสิริมาได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า และได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล
       ด้วยเหตุที่นางอุตตราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการเข้าฌาน พระบรมศาสดาจึงยกย่องว่า เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในการเพ่งฌาน หรือผู้เข้าฌาน
   
       
๖. พระนางสุปปวาสา เป็นธิดาของกษัตริย์นครโกสิยะ ทรงเจริญวัยแล้วได้อภิเษกสมรสกับศากยกุมารองค์หนึ่ง จากนั้นพระนางก็ตั้งครรภ์นาน ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน จึงประสูติโอรส นามว่าสีวลี พระนางได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ครั้งแรกได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์จบแล้วก็บรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นพระโสดาบัน ต่อมาพระนางได้ถวายภัตตาหารแก่พระพุทธเจ้า และพระอริยสาวกอย่างสม่ำเสมอ
       พระนางได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่ายผู้ถวายของอันมีรสอันประณีต
       
       ๗. นางสุปปิยา เกิดในตระกูลหนึ่งในกรุงพาราณสี เมื่อเจริญวัยแล้วได้แต่งงานกับชายผู้มีฐานะเสมอกัน นางมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้วบรรลุเป็นพระโสดาบัน วันหนึ่งไปฟังธรรมที่วัด ก่อนกลับบ้านพบพระสงฆ์อาพาธรูปหนึ่ง จึงถามว่าพระคุณเจ้าต้องการสิ่งใด พระรูปนั้นก็ตอบว่า อาตมาต้องการอาหารที่มีเนื้อ
       วันรุ่งขึ้น นางใช้ให้ทาสีไปหาซื้อเนื้อในตลาด แต่ก็หาซื้อไม่ได้ จึงเฉือนเนื้อที่ขาของตน แล้วให้นำไปปรุงเป็นอาหารถวายพระรูปนั้น พระพุทธเจ้าทรงทราบว่า นางสุปปิยาป่วย จึงเสด็จมาพร้อมกับพระสงฆ์เพื่อเยี่ยมไข้นาง เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสถามถึงนาง นางจึงลุกขึ้นจากที่นอน อาการเจ็บปวดก็หายไปเป็นปลิดทิ้ง บาดแผลหายสนิทเป็นปกติทุกประการ นางได้กราบทูลถึงเรื่องราวที่ตนกระทำไปทั้ง หมดให้พระพุทธองค์ได้ทรงทราบ พระองค์จึงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุฉันเนื้อมนุษย์
       พระพุทธองค์ทรงยกย่องนางสุปปิยาว่า เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่ายผู้อุปัฏฐากภิกษุอาพาธ

   
       ๘. นางกาติยานี เกิดในกุกรรฆรนคร มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาตั้งแต่เยาว์วัย มีหญิงสหายคนหนึ่งชื่อนางกาฬี ในราตรีหนึ่งขณะที่พระโกฆิกัณณโสณเถระ กำลังแสดงธรรมโปรดมารดา จนได้บรรลุธรรมโสดาปัตติผลถึงพระอรหัตมรรค โดยนางกาติยานี และนางกาฬีผู้สหายก็ได้ร่วมฟังธรรมอยู่ด้วย
       คืนนั้นโจรประมาณ ๙๐๐ คน ขุดอุโมงค์จากมุมหนึ่งของเมืองไปโผล่ที่บ้านของนางกาติยานี ส่วนหัวหน้าโจรทำทีเข้าไปฟังธรรม เพื่อต้องการทราบว่าคนเหล่านั้นประชุมกันด้วยเรื่องอะไร ได้ยินนางทาสีบอกนางกาติยานีว่า มีโจรเข้าบ้าน มาขโมยของ แต่นางกลับบอกว่าอย่าไปสนใจ โจรอยากได้อะไรก็ให้เขาขนไป เราจะฟังธรรม หัวหน้าโจรได้ยินดังนั้นเกิดอาการเลื่อมใส จึงสั่งให้ลูกน้องคืนสิ่งของที่ขโมยไปคืนแก่นางกาติยานีทั้งหมด และขอให้นางช่วยให้ตนได้บวชในสำนักของ พระโกฆิกัณณโสณเถระด้วย ซึ่งนางก็จัดการให้ตามประสงค์ และทั้งหมดก็ได้บวชจนบรรลุพระอรหัตผล ส่วนนางฟังธรรมแล้วบรรลุพระโสดาบัน
       พระบรมศาสดาทรงยกย่องนางกาติยานีว่า เป็นเลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่ายผู้เลื่อมใสมั่นคง
   
       
๙. นางนกุลมารดาคหปตนี เกิดในตระกูลเศรษฐีในเมืองสุงสุมารคีรี แคว้นภัคคะ เมื่อเจริญวัยได้แต่งงานอยู่ครองเรือนตามฆราวาสวิิสัย เมื่อบิดามารดาเสียชีวิตแล้วก็ครอบครองสมบัติสืบไป ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปสู่นครสุงสุมารคีรี ประทับในเภสกลาวัน นกุลเศรษฐีและภริยาพร้อมชาวเมืองสุงสุมารคีรีเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้เรียกพระพุทธเจ้าว่าเป็นบุตรของตน พระพุทธเจ้าทรงยกเรื่องในอดีตชาติมาตรัสแก่พุทธบริษัทว่า ทั้งสองสามีภริยานี้เคยเป็นบิดามารดาของพระองค์มา ๕๐๐ ชาติ เป็นต้น จึงทำให้ชาวเมืองคลายความสนเท่ห์จนหมดสิ้น
       พระบรมศาสดาทรงยกย่องนางนกุลมารดาคหปตนี ให้เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคยในพระศาสดา
              ๑๐. นางกาฬีกุกรรฆริกา เกิดในเมืองราชคฤห์ มีสามีอยู่ในกรุงกุรรฆรนคร ต่อมานางได้ตั้งครรภ์ และกลับยังเรือนของบิดามารดาใน กรุงราชคฤห์ คืนหนึ่งได้ยินพวกยักษ์ที่ยืนอยู่ในอากาศเหนือปราสาทของตน สรรเสริญคุณพระรัตนตรัยแล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใส ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล โดยยังมิได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดา และนางได้คลอดบุตรโดยสวัสดิภาพ
       พระบรมศาสดาจึงยกย่องนางกาฬีกุกรรฆริกาว่า เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่ายผู้ได้ความเลื่อมใสตามเขา คือ เลื่อมใสโดยฟังตามคนอื่น
       
       สตรีทั้ง ๑๐ คนนี้ นับว่ามีบทบาทสำคัญในพระพุทธศาสนาที่ไม่อาจปฏิเสธได้ เพราะเป็นรากเหง้าแห่งความเจริญของพระพุทธศาสนาสืบๆต่อกันมาจนทุกวันนี้

พระพรหม 
พระพรหม หรือ พระพรหมธาดา (อักษรโรมัน: Brahmā; อักษรเทวนาครี: ब्रह्मा; สันสกฤต:ब्रह्मा) เป็นเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ฮินดู ถือว่าเป็นผู้สร้างจักรวาล และเป็นหนึ่งในตรีมูรติ อันประกอบด้วยพระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ ต่างจาก พรหมัน อันเป็นเป้าสูงสุดของปรัชญาฮินดู แต่มีรากศัพท์เดียวกัน โดยที่พรหมันนั้นเป็นนาม นปุงสกลิงก์ คือไม่มีเพศ ขณะที่พระพรหม เป็นปุลลิงก์ หรือบุรุษเพศ ตามคัมภีร์พระเวท ถือว่าพระพรหมมีชายา คือพระสุรัสวดี มีหงส์เป็นพาหนะ มี 4 พระพักตร์ เป็นเทพแห่งการสร้างและการให้พร ที่เรียกว่า "พรหมพร" ถือเป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ความเมตตา และยังเชื่ออีกว่า พระพรหมเป็นผู้ที่กำหนดชะตาชีวิตของมนุษย์ทุกคนที่เกิดมาใหม่ โดยเขียนไว้ที่หน้าผาก เมื่อเกิดมาใหม่ได้ 6 วัน ซึ่งเรียกกันว่า "พรหมลิขิต" หรือ "พรหมเรขา"[1]

[แก้] นิยามของ พรหม ใน ภควัทคีตา (บทเพลงแห่งองค์ภควันต์)

สิ่งที่บุคคลควรรู้สูงสุดคือ พรหม
พรหมคือสภาวะอันสูงสุด ไม่มีเบื้องต้น ไม่เป็นทั้งสิ่งมีอยู่และสิ่งไม่มีอยู่
พรหมหยั่งรู้ถึง อารมณ์ โลภ โกรธ หลง แต่พรหมปราศจากอารมณ์เหล่านั้น
พรหมไม่มีความยึดมั่นในสรรพสิ่ง
พรหมคือสภาวะอยู่เหนือความดีและความชั่ว
พรหมมิอาจหยั่งรู้ได้ด้วยการคิดและใช้เหตุผล
พรหมคือแสงสว่างเหนือแสงสว่างทั้งปวง

[แก้] พระพรหม ในคติพระพุทธศาสนา

ในคติพุทธศาสนา พระพรหม เป็นชาวสวรรค์ชั้นสูงขั้นหนึ่งที่สูงกว่าเทวดาทั่วไป เรียกว่า "พรหม" พระพรหมยังอยู่ในกามาวจรภพ มีการวนเวียนว่ายตายเกิด อยู่ในสวรรค์ที่เรียกว่าชั้นพรหม (พรหมภูมิ)
พระพรหมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พรหมที่มีรูป เรียกว่า "รูปพรหม" มีทั้งหมด 16 ชั้นและพรหมที่ไม่มีรูป เรียกว่า "อรูปพรหม" มีทั้งหมด 4 ชั้น โดยอรูปพรหมจะสูงกว่ารูปพรหม
"พระพรหม" ในทางพระพุทธศาสนา เป็น "พระพรหมผู้วิเศษ" ล้วนแต่บุรุษเพศทั้งสิ้น ไม่ต้องกินไม่ต้องบริโภคอาหาร เหมือนสัตว์ในภูมิอื่น ด้วยว่าแช่มชื่นอิ่มเอิบโดยมีฌานสมาบัติเป็นอาหาร จึงไม่ต้องมีการถ่ายคูตรมูถ คืออุจจาระ ปัสสาวะอันลามกเหม็นร้าย สรีระร่างกายหน้าตาแห่งบรรดาพระพรหมนั้น มีสัณฐานกลมเกลี้ยงสวยงามนัก มีรัศมีออกจากกายตัวเลื่อม ประภัสสรรุ่งเรืองกว่ารัศมีพระอาทิตย์ และพระจันทร์ หลายพันเท่า เพียงแต่หัตถ์หนึ่งเล่าอันพระพรหมทั้งหลายเหยียดยื่นออกไปหวังจะให้ส่อง รัศมีไปทั่วห้วงจักรวาลก็ย่อมจักทำได้ อวัยวะร่างกายที่ต่อกัน คือ หัวเข่าก็ดี แขนก็ดี มีสัณฐานกลมเกลี้ยงเรียบงามนัก จักได้เห็นที่ต่อกันนั้นหามิได้ เกศเกล้าแห่งพระพรหมทั้งหลายนั้นงามนัก ปรากฏโดยมากมีศีรษะประดับด้วยชฎา สถิตย์เสวยสุขพรหมสมบัติอยู่ ณ พรหมภูมิที่ตนอุบัติตราบจน กว่าจะสิ้นอายุ ซึ่งเป็นเวลานานแสนนาน
(เป็นผู้วิเศษ ที่มีแต่เพศชาย ไม่ต้องกินดื่มอาหารใดๆ เหมือนสัตว์ในภูมิอื่นๆ จึงไม่ต้องมีการขับถ่ายของเสีย พระพรหมมีใบหน้ากลมเกลี้ยง มีแสงจากกายที่ส่องสว่างกว่าแสงพระอาทิตย์ และแสงพระจัทร์เป็นหลายพันเท่า โดยพิจารณาเพียงฝ่ามือข้างเดียวของพระพรหมที่แบออกนั้น ก็สามารถส่องแสงสว่างไปทั่วจักรวาลได้ อวัยวะใดๆที่ต้องมีรอยต่อกัน (เช่น บริเวณแขน ที่มีศอก และรอยพับ เชื่อมระหว่างแขนบน และแขนล่าง) ก็เกลี้ยง เรียบเนียน เส้นผมก็สวยงามมาก ซึ่งโดยมากจะมีชฏาประดับบนศีรษะ และอยู่เสวยสุขในชั้นพรหมของตนเอง จนกว่าจะสิ้นอายุขัย ซึ่งก็เป็นเวลาแสนนาน)
พรหมอุบัติ (ในทางพระพุทธศาสนา) พระพรหม เกิดจากท่านผู้มีความเพียรกล้า ทรงไว้ซึ่งปัญญาเกินสามัญชน ปรารถนาจะพ้นจากกิเลสานุสัย เพราะเห็นว่ามีโทษพาให้ ยุ่งนัก ใคร่จักห้ามจิตมิให้ตกอยู่ในอำนาจกิเลส จึงสู้อุตสาหะพยายามบำเพ็ญสมถภาวนา ตามที่ท่านบุรพาจารย์สั่งสอนกันสืบๆ มา บางพวกเป็นชีป่าดาบส บางพวก ทรงพรตเป็นโยคี ฤๅษีในสมัยที่มีพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น ในโลก บางพวกก็เป็นพระภิกษุสามเณรต่างบำเพ็ญสมถภาวนา จนได้สำเร็จฌาน ครั้นถึงกาลกิริยาตายจากมนุษย์โลก จึงตรงไปอุบัติเกิดในพรหมวิมาน ณ พรหมโลก อันเป็นแดนซึ่งมีแต่สุขไม่มีเรื่องกามเข้าไปเกี่ยวข้อง ตามอำนาจฌานที่ได้บรรลุเป็นพระพรหมผู้วิเศษ
พระพรหมมีชื่อเรียกอื่นในภาษาไทยเช่น จตุรพักตร์ (4 หน้า), ธาดาบดี (ผู้สร้าง), หงสรถ (มีหงส์เป็นพาหนะ), ปรเมษฐ์ (ผู้สูงสุด) เป็นต้น

มาลุตชาดก (สาเหตุที่ตรัสชาดก) 
......ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล มีพระหลวงตาสองรูปชื่อ พระกาฬะ และพระชุณหะ
ทั้งสองรูปตั้งใจปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดอยู่ในป่าแห่งหนึ่งในเขตชนบท
แคว้นโกศล อย่างไรก็ดี พระทั้งสองรูปยังติดนิสัยตั้งแต่สมัยเป็นฆราวาส
มาคนละอย่างคือ พระชุณหะชมชอบความงามของพระจันทร์เต็มดวงข้างขึ้น
ส่วนพระกาฬะชอบมองหมู่ดาวที่ส่องแสงระยิบระยับจับตาในคืนข้างแรม
.....วันหนึ่ง พระหลวงตาทั้งสองได้มาพบปะสนทนากันถึงเรื่องลมฟ้าอากาศ
พระชุณหะจึงถามพระกาฬะขึ้นว่า " ท่านรู้หรือไม่ว่า คืนไหนอากาศจะหนาวจัด ?
" พระกาฬะตอบทันทีว่า " คืนข้างแรมสิ! เราสังเกตมานานแล้ว พบว่าถ้าคืนไหน
เป็นคืนข้างแรม คืนนั้นอากาศจะหนาวจัดทุกที " พระชุณหะได้ฟังดังนั้นจึงแย้งว่า
" เราก็อยู่ป่ามานาน แต่สังเกตเห็นว่า อากาศหนาวจัดในคืนข้างขึ้นต่างหาก "

.....หลวงตาทั้งสองโต้เถียงกันด้วยเรื่องนี้เป็นเวลานาน แต่ไม่อาจจะหาข้อยุติได้
ในที่สุดจึงชวนกันออกเดินทางไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อให้พระพุทธองค์ตัดสินให้
.....พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดำริว่า พระภิกษุสองรูปนี้อุตส่าห์เดินทางไกลเป็นเวลา
แรมเดือนข้ามเขตแดนชนบทน้อยใหญ่มายังนครสาวัตถี เพียงเพื่อให้พระองค์ตัดสิน
ปัญหาอันไม่เป็นสาระ ด้วยต่างฝ่ายต่างถือทิฐิมานะเข้าหากัน หลงยึดมั่นแต่
ความคิดเห็นของตนโดยไม่พิจารณาถึงสาเหตุที่แท้จริง เช่นนี้จึงทรงระลึกชาติ
ด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ แล้วตรัสว่า

.." ดูก่อนภิกษุ เมื่อชาติก่อนโน้น เราก็ตอบปัญหานี้แก่เธอทั้งสองแล้ว
แต่เธอจำไม่ได้จึงต้องย้อนมาถามปัญหาเดิมซ้ำอีก " พระหลวงตาทั้งสอง
รู้สึกแปลกใจ จึงกราบทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์ทรงเล่าเรื่องราวในอดีตชาติ
ของตนให้ฟัง พระพุทธองค์จึงทรงแสดง มาลุตชาดก มีเนื้อความดังนี้



...